ผ่อนหน้าอก

 เสริมหน้าอก

การเสริมหน้าอกเป็นศัลยกรรมผ่าตัดที่ได้รับความนิยม โดย ISAPS หรือสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยนานาชาติ ได้เก็บสถิติการทำศัลยกรรมที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือ การเสริมหน้าอก (Breast Augmentation) เป็นอันดับที่1 รองลงมาคือการดูดไขมัน โดยคิดเป็น 15.8% ของการผ่าตัดทั้งหมด อีกทั้งหน้าอกเป็นหนึ่งในสรีระร่างกายที่สาวๆให้ความสำคัญ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นการเพิมหรือลดขนาดให้พอดีกับตัว ซึ่งการเสริมหน้าอกควรปรึกษากับศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากการเสริมของขนาดหน้าอกนั้น ควรจะสอดคล้องกับปัจจัยหลายๆด้าน เช่น ส่วนสูง น้ำหนักตัว ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อของแต่ละคน 

ผู้หญิงผิวขาว เสื้อสีขาว logo siraikorn รายละเอียดการเสริมหน้าอก
ผู้หญิงผิวขาว เสื้อสีขาว logo siraikorn รายละเอียดการเสริมหน้าอก

รูปแบบการเสริมหน้าอก

ในปัจจุบันการเสริมหน้าอกถูกแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

  1. การเสริมหน้าอกโดยใช้ซิลิโคน (Breast Implant Augmentation)
  2. การเสริมหน้าอกโดยใช้ไขมันจากร่างกายของตนเอง (Fat Transfer Augmentation) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนไข้ที่ต้องการเสริมหน้าอกโดยที่ไม่ต้องการให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาอยู่ในร่างกาย โดยใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อทำการดูดเก็บไขมันที่ใช้ได้มาทดแทนซิลิโคน วิธีนี้ควรเลือกศัลยแพทย์ที่มีความชำนานพิเศษเพื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดในส่วนของการอยู่ตัวของไขมัน ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล 

การเสริมหน้าอกสามารถเลือกเสริมได้ทั้งแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้ง 2 แบบควบคู่กันก็ได้

 

ผิวสัมผัสซิลิโคน มี 2 ชนิด 

ผิวซิลิโคนชนิดหยาบหรือผิวทราย (Textured)
ผิวซิลิโคนแบบผิวเรียบ (Smooth)
ผิวซิลิโคนแบบกึ่งเรียบกึงทราย (Nano texture)

นอกจากนี้ยังมีรูปทรงหลายชนิดให้เลือก เช่น 

  • Low Profile
  • Modelate Profile
  • High Profile
  • Extra-Hight Profile

          การเลือกซิลิโคนในปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆของการเสริมหน้าอก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ผลิตซิลิโคนในยุคนี้ ทำให้ยืดอายุการใช้งานได้ตลอดชีวิต ไม่ต้องเปลี่ยนทุกๆ 3ปี 5ปี หรือ10ปีเหมือนกับสมัยก่อน ซิลิโคนที่ถูกผลิตขึ้นจึงมีลักษณะผิวหรือรูปทรงแตกต่างกันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนที่สนใจเสริมหน้าอก 

ซิลิโคนผิวเรียบ (Smooth) – การเสริมด้วยซิลิโคนผิวเรียบ ลักษณะของผิวจะมีความเรียบ เนียน ใส มีโอกาศการเกิดริ้วบนเต้านมน้อยกว่าผิวทราย ในกรณีที่เสริมหน้าอกขนาดใหญ่ การใช้ผิวเรียบจะง่ายต่อการเสริมมากกว่า แต่การใช้ผิวเรียบต้องมีวินัยในการนวด เพื่อลดการเกิดผังผืดปกคลุมซิลิโคน โดยการนวดจำเป็นต้องนวดอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ

ซิลิโคนผิวทราย (Textured) – การเสริมด้วยซิลิโคนผิวทราย ลักษณะของผิวซิลิโคนจะมีความหยาบ สีขุ่น สามารถยึดเกาะพื้นผิวทำให้ซิลิโคนไม่เคลื่อนหรือเสียทรงลดเข้าที่ไวกว่าและชะลอการเกิดผังผืด แต่ขั้นตอนการเสริมอาจจะใช้เวลามากกว่าเนื่องจากซิลิโคนมีผิวหยาบและหนืดในการใส่เข้าร่างกายและจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

ผิวซิลิโคนแบบกึ่งเรียบกี่งทราย (Nano texture) – การเสริมด้วยซิลิโคนผิวกึ่งเรียบกึ่งทรายนั้น คือการรวมข้อดีของ ทั้ง2 อย่างมาไว้ด้วยกัน การเสริมหน้าอกด้วย ซิลิโคนประเภทนี้จำเป็นต้องให้ศัลยแพทย์ประเมินความเหมาะสม ในด้านสภาพผิว ความยืดหยุ่น ขนาดหน้าอก เป็นต้น

เลือกซิลิโคน

          ความเหมาะสมก็เป้นสิ่งสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน บอกได้ว่าในขณะที่เราเลือกซิลิโคน ซิลิโคนเองก็ต้องเลือกเราเช่นกัน โดยจะถูกประเมินจากศัลยแพทย์ ซึ่งจะดูจากร่างกาย เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ลักษณะความกว้างของไหล่ ลำตัว เนื้อหน้าอกเดิม นอกจากนี้อาจประเมิยจากไขมันช่วงหน้าอก ความหนาของผิวหนัง ความหย่อนของหน้าอก เพื่อเลือกจุดที่จะเปิดแผลเพื่อใส่ซิลิโคนเข้าสู่ร่างกัน โดยจะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล 

การเปิดแผลผ่าตัดเพื่อใส่ซิลิโคน
          จุดที่จะผ่าตัดลงมีดจะอยู่ที่ความเหมาะสมโดยจะถูกประเมินจากศัลยแพทย์ ประกอบด้วย ขนาดของซิลิโคนที่จะใส่ หรือ นำออก(แก้) ความหนาของผิวหนัง หรือไขมัน ซึ่งวิธีการทำจะมีอยู่ 3 แบบ ประกอบด้วย

– แผลผ่าตัดใต้ราวนม เป็นการผ่าตัดที่ศัลยแพทย์ในเมืองไทยนิยมใช้วิธีนี้มากที่สุดเนื่องจาก มีขนาดแผลที่เล็กและอยู่ใต้ราวนมทำให้แทบไม่เห็นรอยผ่า ใช้เวลาในการผ่าไม่นาน

– แผลผ่าตัดใต้รักแร้และปานนม เป็นการผ่าตัดที่ต้องใช้ความชำนาญ และใช้เวลาข้อนข้างมาก แผลจะอยู่บริเวณใต้รักแร้สำหรับสาวๆที่ไม่อยากมีแผลใต้ราวนม จำเป็นต้องใช้กล้องส่อง เสียเลือดมากกว่าและดูแลพักฟื้นยาวกว่า

ตำแหน่งการวางซิลิโคน
          ตำแหน่งการวางซิลิโคนโดยปกติจะถูกประเมินโดยศัลยแพทย์ เช่น ความหนาของกล้ามเนื้อ ความหย่อย ความกว้างของร่างกายหรือทรวงอก ซึ่งโดยพื้นฐานส่วนมากจะวางใต้กล้ามเนื้ออก โดยจะต่างกันไปแล้วแต่ลักษณะบุคคล

เตรียมตัวก่อนเสริมหน้าอก

การเตรียมตัวก่อนเสริมหน้าอกนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้กระบวนการผ่าตัดเป็นไปได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นควรทำการตรวจร่างกายและเตรียมสภาพร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนทำการผ่าตัด หากคุณมีโรคประจำตัวใดๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อเตรียมการดูแลเฉพาะบุคคลที่เหมาะสม

การตรวจเลือดเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญก่อนการผ่าตัด เพื่อให้แพทย์ประเมินสภาพร่างกายของคุณในระดับเซลล์และระบบต่างๆ ดังนั้นคุณควรงดการรับประทานอาหารและน้ำ น้ำชา กาแฟอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด นอกจากนี้ยังควรหยุดรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วิตามิน หรือสมุนไพรเพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่ายในระหว่างหรือหลังการผ่าตัด อีกทั้งควรงดการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดและช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้นไปด้วย

กระบวนการเสริมเต้านม
กระบวนการเสริมเต้านมจะทำเป็นขั้นตอน ได้แก่

  • วิสัญญีแพทย์ให้การดมยาสลบหรือยาเบลอก่อนเริ่มการผ่าตัด 
  • ศัลยแพทย์จะเริ่มทำการผ่าตัดตามที่ได้วางแผนกับผู้มารับการเสริมหน้าอก โดยทำการเลาะช่องบริเวณหน้าอก ใส่ซิลิโคน และเย็บปิดแผล 
  • การผ่าตัดเสริมหน้าอกใช้เวลาประมาณ 1.5 – 2 ชั่วโมง  

ภาวะแทรกซ้อนหลังเสริมเต้านม
ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ่อนที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการเสริมหน้าอก

  • อาการบวม
  • อาการปวดแผล
  • อาการแผลอักเสบ
  • อาการมีเลือดหรือน้ำเหลือไหลออกจากแผลผ่าตัด
  • อาการคลื่นไส้ อาเจียนที่เป็นผลข้างเคียงจากยาสลบ ยาแก้ปวด 

    ผลระยะยาวจากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเกิดพังผืดหดรัด การเคลื่อนตำแหน่งของซิลิโคน  การหย่อนคล้อยของหน้าอก รวมทั้งการผิดรูป เช่น  แข็งตัวหรือเสียรูปทรง หรือการแตกของถุงซิลิโคน

ดูแลหลังเสริมเต้านม

การดูแลหลังเสริมเต้านม ประกอบไปด้วยการดูแลแผลผ่าตัด ในช่วงสัปดาห์แรกสามารถอาบน้ำได้ เนื่องจากแพทย์จะทำการปิดฟิล์มกันน้ำ แต่หลีกเลี่ยงการลงไปแช่ในน้ำหรือว่ายน้ำในสระ หลังจากพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กและแผลหายดีแล้วจะมีการแนะนำให้ใช้ครีมทาแผลเป็นหรือแผ่นซิลิโคนปิดแผลเป็นการดูแลหน้าอกหลังใส่ซิลิโคน แนะนำให้ใส่บราชนิดไม่มีโครงอย่างน้อย 1 เดือน หลีกเลี่ยงการกดทับหรือกระแทกบริเวณหน้าอก และการออกกำลังกายที่ใช้แขนมากในช่วง 1 เดือนแรกการดูแลอื่น ๆ ได้แก่ งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ รวมทั้งของหมักดอง อย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังผ่าตัดการดูแลในระยะยาว หมั่นตรวจเช็กหน้าอกด้วยตัวเองและตรวจแมมโมแกรมตามกำหนด